เมื่อโรคซึมเศร้าไม่ได้เกิดแค่กับแค่คนรุ่นใหม่ แต่ผู้สูงวัยก็มีโอกาสเสี่ยงเป็นภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
‘บุพการีที่เคารพ’ คู่มือดูแลพ่อแม่ของคน #Genลูก EP ที่ 5 ชวนลูก ๆ มาตอบปัญหาในประเด็นความเจ็บป่วยทางด้านจิตใจ เมื่อพ่อแม่หรือผู้สูงวัยในบ้านต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากทั้งด้านร่างกายและจิตใจ อาทิ การสูญเสียคนในครอบครัวแบบเฉียบพลัน ส่งผลให้จมอยู่กับความโศกเศร้า หาทางออกไม่ได้ จนในที่สุดกลายเป็น ‘ภาวะซึมเศร้า’ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ลูก ๆ จะหยุดเรื่องน่าเศร้าของโรคซึมเศร้าได้อย่างไร มีวิธีไหนที่จะดูแลพ่อแม่ให้มูฟออนกลับมาใช้ชีวิตต่อไปได้บ้าง
พูดคุยกับ ผศ.พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
กับประเด็นน่าสนใจ
- เศร้าแค่ไหน ถึงเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า
- How to การดูแลผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าจากการสูญเสียคนในครอบครัว
- เข้าใจภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและสุขภาพที่ถดถอย
- เข้าใจภาวะซึมเศร้าหลังเกษียณ เมื่อสถานะทางสังคมเปลี่ยนแปลงไป
- เช็กลิสต์อาการเสี่ยงเป็นซึมเศร้า
- แนวโน้มการทำร้ายร่างกายของผู้สูงวัยที่มีภาวะซึมเศร้า
- ลูกสามารถช่วยป้องกันไม่ให้พ่อแม่ หรือผู้สูงวัยในบ้านมีภาวะซึมเศร้าได้อย่างไร
‘บุพการีที่เคารพ’ รายการตอบปัญหาคาใจเรื่องพ่อแม่ ชวนลูก ๆ ที่กำลังเผชิญกับสถานการณ์นี้อยู่ หรืออยากหาแนวทางการป้องกันล่วงหน้า มาทำความเข้าใจ ตั้งหลักให้ถูก และดูแลพ่อแม่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นไปพร้อม ๆ กัน