Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

3 ฮาว ทู รอดทางการเงินในวิกฤตโรคระบาดโควิด-19

เมื่อโรคระบาดโควิด-19 ไม่ได้ทำร้ายแค่สุขภาพแต่กัดเซาะไปถึงกระเป๋าสตางค์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง หลายคนชีวิตสะดุด รายได้หดหาย แต่หนี้สินทั้งค่าบ้าน ค่ารถ ค่าหนี้บัตรเครดิต ยังต้องจ่ายเท่าเดิม เราจะเป็นผู้ที่อยู่รอดในสถานการณ์นี้ได้อย่างไร มนุษย์ต่างวัย ชวนคุยกับ คุณสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เพื่อรับมือกับวิกฤตทางการเงินในวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 อย่างมีสติ

วิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อปากท้องของคนไทยอย่างไร

“วิกฤตโรคระบาดโควิด -19 ไม่ได้ทำร้ายแค่สุขภาพแต่ยังทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจลดลง ร้านอาหารคนไปน้อยลง ห้างสรรพสินค้าคนไปเดินน้อยลง การเดินทางสาธารณะผู้คนระมัดระวังตัวมากขึ้น ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดเป็นความหวาดระแวง เกิดเป็นความซบเซา เกิดเป็นความกังวลที่ซ่อนอยู่ในแววตาของคนไทย เพราะวิกฤตที่เกิดขึ้นทำให้อยู่ดีๆ รายได้ที่เคยได้รับหายไป ที่เรียกกันว่า Income shock ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของรายได้ ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้

“คนที่มีเงินออมก็รอด แต่ถ้าคนไม่มีเงินออมจะทำอย่างไร และที่แย่กว่านั้นคือ บางคนรายได้ที่รับไม่ใช่รายได้ประจำ ไม่ใช่เงินเดือนประจำ แต่เป็นรายได้จากการเป็นนายหน้า เซอร์วิสชาร์จ เมื่อเกิดภาวะวิกฤตปรากฏว่ารายได้หายไปครึ่งหนึ่ง หรือบางคนรายได้เท่ากับศูนย์ไปเลย ในขณะที่ภาระหนี้สินยังมีอยู่เท่าเดิม และกำลังเดินหน้าต่อ แต่จะทำอย่างไร นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้นจากวิกฤตโรคระบาดโควิด -19 ที่ทุกคนกลัว”

วิธีเอาตัวรอดทางการเงินจากวิกฤตโรคระบาดโควิด-19

“ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่านี่ไม่ใช่วิกฤตครั้งแรกที่เราเคยเจอ แต่เราเจอวิกฤตแบบนี้มาตั้งแต่โรคระบาดซาร์ส เหตุการณ์สึนามิ เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ปี 2554 การประท้วงบนท้องถนน กระทั่งวิกฤตในครั้งนี้ที่เรียกว่าภัยจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 ที่มาพร้อมกับโรคภัยไข้เจ็บและสภาพแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงติดเชื้อ คนที่กำกับดูแลสถาบันการเงินหรือที่เราเรียกว่าเจ้านายของสถาบันการเงิน เขารู้ว่าผลกระทบมันจะค่อยๆ รุนแรง สิ่งที่เขาทำก็คือปี 2563-2564 จะเป็นมหกรรมการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้ทุกคนเดินผ่านจุดวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้ คำถามคือคนที่เป็นลูกหนี้ควรทำอย่างไร เพื่อเอาตัวรอดทางการเงินในวิกฤตโรคระบาดโควิด -19”

วิธีเอาตัวรอดขั้นที่ 1 คุยกับเจ้าหนี้

“สำรวจรายได้ของตัวเองที่เคยได้รับก่อนเกิดวิกฤตและหลังเกิดวิกฤต ว่ามีรายได้เท่าไหร่ และรายได้ที่คิดว่าจะได้รับในระยะที่อยู่ในช่วงวิกฤตไปจนถึงสิ้นปี 2563 และสิ้นปี 2564 จะมีรายได้เท่าไหร่ สำรวจหนี้สินที่ต้องจ่ายมีค่าอะไรบ้าง เป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ที่ต้องจ่าย ห้ามหลอกตัวเอง จากนั้นเดินไปหาเจ้าหนี้เพื่อเจรจาการชำระหนี้ บอกข้อมูลรายได้และแจกแจงรายจ่าย และเงินที่จะเหลือมาผ่อนชำระหนี้ จากนั้นเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้

“กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ จะประกอบไปด้วย การปรับโครงสร้างหนี้แบบป้องกันไม่ให้เป็นหนี้เสีย การปรับโครงสร้างหนี้แบบที่เราเรียกว่าเป็นหนี้เสียไปแล้ว และการพักชำระหนี้ แขวนต้นจ่ายแต่ดอก หรือชำระบัตรเครดิต เช่น จ่าย 10 เปอร์เซ็นต์ ไม่ไหวขอจ่ายแค่ 5 เปอร์เซ็นต์ ตามช่องทางที่เจ้าหนี้ระบุ

“การปรับโครงสร้างหนี้ไม่ใช่ตราบาป ไม่ใช่ความผิด แต่เป็นการปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ ให้เข้ากับการเงินที่จะไหลเข้ามา และเงินที่จะต้องใช้จ่ายออกไป เป็นการปรับสมดุลรายรับรายจ่าย เพื่อให้เราอยู่รอดในช่วงระยะเวลาที่มีความไม่แน่นอนสูง เพราะฉะนั้นเมื่อเขาได้เปิดประตูให้แล้ว ตัวเราต้องมั่นใจ ยอมรับความจริง และเดินผ่านประตูนั้นเข้าไป”

ช่องทางช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงิน

“ประชาชนทั่วไปที่เป็นลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ช่องทางช่วยเหลือในเบื้องต้นที่ง่ายที่สุดคือ (โทร) 1213 ศูนย์ให้ความคุมครองผู้ใช้บริการทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเข้าเว็บไซต์ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) จะมีข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมจัดการกับหนี้ของธนาคารต่างๆ เพื่อให้ลูกหนี้เตรียมตัวก่อนเข้าสู่การเจรจากับธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้”

วิธีเอาตัวรอดขั้นที่ 2 ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น

“เมื่อปรับโครงสร้างหนี้แล้ว เริ่มมีความคล่องตัวทางการเงินมากขึ้น แต่ความคล่องตัวทางการเงินเกิดจากการที่เราทำไม่ได้ตามสัญญาแรกที่ทำไว้กับเจ้าหนี้ ทำให้ต้องทำตามสัญญาที่สอง การปรับสมดุลตรงนี้เราไม่รู้ว่ามันจะถาวรหรือไม่ เพราะฉะนั้นต้นทุนตอนนี้ ไม่ควรเอาตัวเองไปแบกภาระอะไรอีก ดังนั้นความอยากทั้งหลายต้องหยุด เราต้องตระหนักก่อนว่าสิ่งของจำเป็นคืออะไร ไม่ซื้อสิ่งของที่ไม่จำเป็น เลิกใช้คำว่าของมันต้องมี เพราะความอยากกับความจำเป็นวันนี้มันจะเป็นเครื่องมือที่พิสูจน์สติปัญญาของเราว่า เราจะสามารถแบ่งแยกได้หรือไม่ เรามีวิธีจัดการความคิดของเราอย่างไร ถ้าเราใช้เงินอย่างไม่คิด สิ่งที่ไม่คาดคิดจะตามมา เหมือนกับคำที่มีคนบอกว่า ถ้าเราซื้อของที่ไม่จำเป็นในวันนี้ วันข้างหน้าเราอาจจะได้เอาของที่จำเป็นออกมาขาย

วิธีเอาตัวรอดขั้นที่ 3 อดออมเงิน

“จงอดออม อดทน ไม่กินไม่ใช้ยามที่ไม่จำเป็น เพื่อนำมาใช้ยามจำเป็น วันนี้คนที่มีเงินออมกับคนที่ไม่มีเงินออม แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง คนบางคนที่มีการวางแผนทางการเงินที่ดี เขาจะมีเงินอยู่ได้อย่างน้อย 6 เดือน แต่คนที่ไม่มีเงินเก็บเดือนชนเดือน เพราะฉะนั้นความกดดัน ความเครียด มีไม่เท่ากัน พิสูจน์ให้เห็นเลยว่าเงินออมช่วยให้อยู่รอดได้ในยามวิกฤต คนที่มีเงินออมจะเป็นคนที่ยังสามารถยืนหยัดได้

“จงตั้งสติในการใช้ชีวิต แล้วเราจะผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน”


        สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) 

Credits

Author

  • มนุษย์ต่างวัย

    Authorพื้นที่ถ่ายทอดเรื่องราวของสังคมสูงวัยในมุมที่สนุก สร้างสรรค์ และเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนทุกวัย

ถึงจะต่างวัยแต่ก็
อยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจ