Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

รู้ทัน 15 ปัจจัยเสี่ยง ที่ควรรู้ไว้เพื่อลดโอกาสป่วย ‘โรคอัลไซเมอร์’

บุพการีที่เคารพ พูดคุยกับ ผศ.พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ลูก ๆ หรือผู้สูงวัยหลายคนรู้อยู่แล้วว่าอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่หากเป็นแล้วจะส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจกับผู้ป่วยและคนดูแล หากเป็นแล้วโรคนี้ก็ยังเป็นโรคที่รักษาไม่หายทำได้พียงดูแลไม่ให้อาการถดถอยลงเท่านั้น มิหนำซ้ำบางคนมีพันธุกรรมเสี่ยงติดตัวมาอีกโอกาสที่จะต้องเผชิญกับโรคนี้ก็ยิ่งเพิ่มขึ้น แต่หากจะมานั่งกลัวอย่างเดียวก็คงไม่ดี หากตอนนี้หลายคนยังอายุไม่มาก หรือพ่อแม่ที่บ้านยังไม่มีอาการเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์มาดู 15 ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องดูแลและจัดการให้ดี เพื่อลดโอกาสเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ และยังช่วยทำให้สมองเสื่อมช้าลงอีกด้วย

แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
◾ส่วนที่ 1 พยายาม ลด ละ เลิก 5 ข้อนี้ คือ เลิกอ้วน พยายามควบคุมการอ้วนลงพุง เพราะไขมันส่วนเกินนั้นมีโอกาสไปสะสมที่หลอดเลือดได้ เลิกหรือลดบุหรี่ เหล้า เศร้า เซ็ง และระวังอุบัติเหตุที่ส่งผลถึงสมอง ไม่ประมาทในทุก ๆ การใช้ชีวิต
◾ส่วนที่ 2 จัดการกับโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำเกิดโรคหัวใจ คือ ควบคุมความดัน เบาหวาน ไขมัน ดูแลการได้ยินที่อาจเสื่อมลง ระวังการใช้ยาบางตัวที่มีผลทำให้สารสื่อประสาททำงานได้ไม่สมบูรณ์
◾ส่วนที่ 3 การใช้ชีวิต เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด คือ การรู้จักกินอย่างเหมาะสม อย่าลืมทานโปรตีนให้เพียงพอ นอนให้มีคุณภาพ หลับอย่างน้อย 5 ชม./วัน และระวังภาวะหยุดหายใจระหว่างนอน พาตัวเองออกไปมีสังคมที่ได้มีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น สุดท้ายคือการมีกิจกรรมทางกาย และกิจกรรมทางสมองที่หลากหลายไม่จำเจ”
“กิจกรรมทางสมองเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำและเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง อาทิเช่น ถ้าพ่อเป็นหนอนหนังสือ วัน ๆ เอาแต่อ่านหนังสือ แต่จะดีกว่าถ้าพ่อออกไปทำอย่างอื่นบ้างไม่ว่าจะเล่นเกม ออกไปร้องเพลง ทำสวน เพราะหากวันหนึ่งสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอ่านเสียหายไปชีวิตที่มีเคยมีความสุขกับการอ่านก็จะขาดหายไป
“ทุกคนควรมีงานอดิเรกที่สอง ที่สาม ที่ทำให้เรามีความสุขอื่น ๆ เพื่อมาทดแทนสิ่งที่ขาดหายไป หากคุณต้องเผชิญกับโรคนี้ขึ้นมาจริง ๆ การมีกิจกรรมทำหลากหลายยังช่วยให้สมองเสื่อมช้าลงอีกด้วย กิจกรรมทางสมองเป็นสิ่งที่ต้องบริหารจัดการให้ดี อย่าคิดว่าเราเก่งแล้วในสิ่งที่ถนัด ไม่ต้องทำอย่างอื่นแล้วก็ได้ เพราะวันที่คุณต้องเผชิญกับโรคสมองเสื่อม ทักษะการทำงานที่เคยทำได้นี่แหละที่จะเสียไปก่อนใคร ดังนั้นหากวันนี้ยังมีเวลาเริ่มต้นออกไปเพิ่มกิจกรรมทางสมองที่หลากหลาย และควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ให้ดีก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้”

ติดตามข้อมูลการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ CaregiverThai.com

Credits

Author

ถึงจะต่างวัยแต่ก็
อยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจ