Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

การตัดสินใจดูแลในวันที่พ่อแม่ปฏิเสธการรักษา คุยกับ ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร ผู้ก่อตั้ง ‘เยือนเย็น’ วิสาหกิจเพื่อสังคม

หัวใจสำคัญของการดูแลรักษาพ่อแม่แบบ “ประคับประคอง” ให้มีคุณภาพที่สุด คือการวางแผนล่วงหน้าในวันที่ท่านยังสามารถสื่อสารได้

บุพการีที่เคารพ พูดคุยกับ ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร ผู้ก่อตั้ง ‘เยือนเย็น’ วิสาหกิจเพื่อสังคม ถึงประเด็นการตัดสินใจดูแลพ่อแม่ ในวันที่ท่านปฏิเสธการรักษา อยากกลับไปใช้ช่วงเวลาสุดท้ายที่บ้าน

“การเคารพการตัดสินใจของเจ้าของชีวิต และการเตรียมตัวล่วงหน้า เป็นหัวใจสำคัญในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง เมื่อพ่อแม่ได้ตัดสินใจไปแล้วว่าอยากมีช่วงสุดท้ายแบบไหนเราควรเคารพเจ้าของชีวิตแบบนั้น เวลาที่พ่อแม่ยังสื่อสารได้เราควรถามความต้องการของเขาและเคารพในสิ่งนั้นเลย เมื่อถึงเวลาที่ท่านป่วยหนักไม่สามารถตัดสินใจได้จริง ๆ เหตุการณ์ที่ลูก ๆ จะเห็นไม่ตรงกันจนเกิดการยากที่จะตัดสินใจจะหมดไป ดีที่สุดคือการถามพ่อแม่โดยตรง”

“หากพ่อแม่ปฏิเสธการรักษา ต้องการกลับไปใช้ช่วงเวลาสุดท้ายที่บ้าน ลูกอาจจะกังวลใจว่าถ้าเกิดอาการเจ็บปวดน่าทรมานใด ๆ ขึ้นมาต้องทำอย่างไร ต้องพากลับไปโรงพยาบาลอีกหรือไม่ สู้อยู่ใกล้หมอไม่ดีกว่าหรือ เรื่องนี้เราต้องเข้าใจก่อนว่าในยุคนี้เราสามารถบำบัดอาการเจ็บปวดทรมานใด ๆ ที่บ้านได้ โดยมีคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพราะฉะนั้นผู้ป่วยสามารถรักษาตัวอยู่ที่บ้านจนกระทั่งเสียชีวิตอย่างสงบได้ เขาสามารถกลับบ้านมาเติมเต็มมิติทางจิตวิญญาณที่เขาต้องการได้ เช่น กลับมาอยู่กับลูกหลาน สัตว์เลี้ยง หรือไปในที่ที่อยากไป กินของที่อยากกิน จนกระทั่งวาระสุดท้ายมาถึง”

“Backup Plan หรือการวางแผนดูแลล่วงหน้า สำหรับการรักษาแบบประคับประคอง คือหัวใจสำคัญที่จะทำให้ญาติผู้ป่วยเบาใจลง และตั้งรับได้ ไม่ว่าจะความกังวลจากการติดเชื้อแทรกซ้อน การหายใจหอบเหนื่อย หรืออาการปวดทรมานจากโรค อาทิเช่น มะเร็ง Backup Plan เปรียบเหมือนการซ้อมญาติ ๆ ล่วงหน้า โดยมีผู้เชี่ยวชาญชวนวางแผน ว่าถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นจริง ๆ จะมีแผน A B C เราต้องรับมือแบบไหน เช่น ถ้าผู้ป่วยมีไข้สูงเราจะดูว่าเกิดจากการติดเชื้ออะไร รักษาโดยการจ่ายยาที่ถูกจุด ในวันถัดมาอาการไข้ก็จะลดลง หากเหนื่อยหอบจากการติดเชื้อในปอดเราก็สามารถให้ยาลดอาการหอบเหนื่อยเช่นมอร์ฟีนได้ ผู้ป่วยก็จะไม่มีความทรมานใด ๆ ญาติก็สบายใจขึ้น และพร้อมรับมือในทุกสถานการณ์”

“เมื่อเบาใจได้แล้วเราก็มาชวนคิดกันต่อว่าความสุขของผู้ป่วยคืออะไร เราสามารถเติมเต็มความสุขให้เขาได้อย่างไรบ้าง เมื่อถึงวันหนึ่งผู้ป่วยไม่ตอนสนองใด ๆ แล้วและถ้าเราไม่แทรกแซงธรรมชาติ ท่านก็จะไปตามธรรมชาติอย่างไม่มีความทุกข์ เป็นไปตามจุดประสงค์ที่ท่านต้องการกลับมาอยู่บ้านแล้ว”

“การชวนคิดและวางแผน คือสิ่งสำคัญที่ทำให้เราตั้งรับได้ ถ้าวันนี้ผู้ป่วยยังไม่มีอาการน่ากังวลใจใด ๆ ยังสามารถลืมตาสื่อสารได้ เราสามารถถามเขาได้เลย หรือหากลูก ๆ ไม่สามารถชวนคุยเรื่องนี้ได้ก็อาจให้คนสนิทคนอื่น ๆ ชวนพูดคุยได้ ว่าหากเกิดเหตุการณ์น่าตกใจขึ้น อยากให้ดูแลอย่างไร ถ้าเจ้าของชีวิตบอกไว้ว่าอนุญาตให้เป็นไปตามธรรมชาติ ลูกก็จะมีแนวทางตั้งรับที่ตรงกับใจท่านที่สุดได้”

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมของ เยือนเย็นได้ที่ Facebook : เยือนเย็น วิสาหกิจเพื่อสังคม

Credits

Author

ถึงจะต่างวัยแต่ก็
อยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจ