Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

แฟนขี้น้อยใจไม่พอ พ่อแม่ขี้น้อยใจหนักกว่า!

“น้อยใจ อาการที่ใครๆ ก็เคยเป็น

อารมณ์รู้สึกน้อยใจมักจะเกิดขึ้นบ่อยกับทุกๆ คน เราอาจจะได้ยินกันมาว่าเหล่าวัยรุ่นหนุ่มสาวมักจะเคยเป็นกันบ่อย และใช้เครื่องมือนี้ในการเรียกร้องความสนใจจากคู่รักเพื่อเพิ่มความน่ารัก เติมน้ำตาลให้ความหวานกับคู่ของตนอยู่เสมอ แต่ถ้าหากมีมากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์สั่นคลอน จนอาจถึงจุดจบได้อย่างรวดเร็ว

อันตรายของความขี้น้อยใจไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะคนวัยหนุ่มสาวเท่านั้น ปัญหาน้อยใจกันเองภายในครอบครัวก็เกิดขึ้นได้มากไม่แพ้กัน โดยเฉพาะบุคคลใกล้ชิดอย่างพ่อแม่ของเรานี่เอง ที่เรียกได้ว่า ยิ่งอายุมากขึ้น ยิ่งขี้น้อยใจหนักมาก!

ขุดต้นตอความขี้น้อยใจ

เลือกที่จะคุยเรื่องส่วนตัวกับเพื่อนมากกว่าพ่อแม่

วันหยุดสุดสัปดาห์กลับบ้านมือเปล่า ไม่ได้ซื้อของฝากให้พ่อแม่

พ่อแม่ชวนไปเดินซื้อของที่ตลาด ลูกอยากนอนจมเตียงเลือกซื้อออนไลน์ดีกว่า

บอกปัดเมนูโปรดที่พ่อกับแม่ทำให้กินเป็นประจำ

นี่คือตัวอย่างสถานการณ์ที่อาจเป็นชนวนเล็กๆ ให้พ่อแม่เราเกิดอาการน้อยใจหนักมาก

มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ยังต้องการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่น และมีความรู้สึกอยากเป็นจุดสนใจในสังคม รวมถึงการต้องการเป็นที่รัก เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น มวลความรู้สึกเหล่านี้มาพร้อมกับความคาดหวังว่าคนรอบข้างจะต้องเป็นไปในแบบที่เราคาดหวังไว้ เมื่อไม่เป็นไปตามคาด มนุษย์ก็จะแสดงความรู้สึกผิดหวัง เสียใจ หรือน้อยใจออกมา

“คิดไปเอง มันเป็นความรู้สึกที่เราคิดไปเองว่าคนอื่นไม่เห็นคุณค่า  พ่อคงอยากได้แบบนี้ แม่คงอยากได้แบบนี้ ลูกอยากได้แบบนี้ คิดเอง เออเอง พอมันไม่เป็นอย่างคาดก็เลยเกิดอาการน้อยใจกัน”

ดร . เนตรปรียา ชุมไชโย หรือครูเคท  จิตวิทยาคำปรึกษา ศูนย์ให้คำปรึกษา  KruKate Counseling Center  เล่าถึงจุดเกิดเหตุแห่งความขี้น้อยใจ โดยเฉพาะปัญหาน้อยใจกันเองภายในครอบครัวที่ทุกคนต่างต้องเคยเผชิญ ครูเคทได้ยกตัวอย่างในสถานการณ์ที่คุณแม่นั่งรอลูกกลับบ้าน ก็เกิดความคิดที่ว่าลูกกลับมาต้องหิวข้าวมากๆ แน่เลย ต้องกลับมาอยากกินข้าวฝีมือตนเอง ก็ลงครัวสวมบทบาทเป็นมาสเตอร์เชฟทำอาหารจานโปรดเตรียมไว้ให้ลูก และเห็นภาพลูกกลับมานั่งกินข้าวฝีมือตนเองอย่างเอร็ดอร่อย แต่เมื่อเหตุการณ์ไม่ได้เป็นไปตามความคาดหวัง ก็เกิดคำถามมากมายว่าทำไมไม่กิน ไม่ชอบอาหารฝีมือแม่แล้วเหรอ ก็จะเกิดการคิดไปเองต่างๆ นานา ทำให้เกิดอาการขี้น้อยใจได้ ทั้งๆ ที่เหตุผลของลูกอาจจะแค่ กินข้าวมาจากข้างนอกบ้านแล้ว อิ่มท้องจนไม่สามารถกินต่อได้ แต่ความชอบเมนูโปรดที่แม่ทำให้ก็ยังคงเป็นเมนูนั้นเมนูเดิม

เพราะครอบครัวคือที่ที่ปลอดภัยที่สุด

ครูเคทเล่าว่า อาการขี้น้อยใจ สังเกตได้ว่าจะเกิดกับบุคคลใกล้ตัว หรือบุคคลที่เราควรจะให้ความสำคัญด้านความรู้สึกอย่างมาก ก็คือครอบครัว เพราะทุกคนจะคิดว่าครอบครัวคือที่ที่ปลอดภัย และเต็มไปด้วยความคาดหวัง สามารถแสดงอารมณ์โกรธ เกลียด โมโห รวมถึงขี้น้อยใจ ออกมาอาการไหนอย่างไรก็ยังคงรักกัน เลยทำให้ทุกอารมณ์มาแสดงกับคนที่บ้านได้อย่างง่ายดาย จนมองข้ามความรู้สึกกันไป

“ปัจจุบันนี้ เราว่าปัญหาความรู้สึกคนในบ้านเกิดขึ้นมากขึ้น เพราะไม่มีเรื่องจะสนทนากัน แต่นอกบ้านนี่ไปคุยกับเพื่อนได้เป็นวรรคเป็นเวร ลูกก็ไปพูดคุยกับเพื่อนลูก พ่อแม่ก็ไปพูดคุยกับเพื่อนตนเองได้อย่างสนุกสนาน ไม่มีการคิดมาก หรือคาดหวังคำตอบใดๆ เพราะรู้ว่าไปแสดงอาการน้อยใจกับเพื่อนก็กลัวจะเสียมิตรภาพไป แต่กับคนในครอบครัวน้อยใจขนาดไหนอย่างไรก็ยังคงรักกันดี”

การแสดงออก

“อาการขี้น้อยใจแต่ละคนแสดงออกได้หลากหลายรูปแบบในแต่ละบุคคล แต่ละสถานการณ์ อย่างพ่อแม่ใครที่เป็นคนแข็งๆ ก็จะแสดงออกในรูปแบบการดุ ตะคอก ต่อว่าลูกตัวเอง ทำไมทำอย่างนี้อย่างนั้น แต่สำหรับพ่อแม่สายอ่อนไหว ก็จะมีอาการน้ำหูน้ำตาไหลออกมา”

การแสดงออกมาในรูปแบบที่แตกต่างกัน แต่ข้างในล้วนแล้วแต่ตกเป็นเหยื่อของการขี้น้อยใจด้วยกันทั้งสิ้น

ครูเคทให้ข้อมูลว่าเรื่องของฮอร์โมนก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พ่อแม่เกิดอาการขี้น้อยใจได้ เพราะเมื่อฮอร์โมนเริ่มเปลี่ยนแปลง ไม่ค่อยสมดุล เข้าสู่วัยทองก็จะเกิดอาการน้อยอกน้อยใจมาก แล้วก็มาคิดเล็กคิดน้อยกับบุคคลในครอบครัว ซึ่งตรงนี้บุคคลในครอบครัวก็ควรทำความเข้าใจ

ข้อดีของการขี้น้อยใจคือมันก่อเหตุการณ์ให้อีกฝ่ายฉุกคิดค่ะ

บางครั้งที่ลูกอาจไม่ได้ตั้งใจเผลอลืมเรื่องความรู้สึกของพ่อแม่ไป การที่พ่อแม่แสดงออกมาให้รู้ผ่านรูปแบบสีหน้าต่างๆ นั้น อาจทำให้ลูกๆ หวนกลับมาคิดได้ว่าสิ่งที่เราได้ทำ หรือไม่ได้ทำอยู่ เราตกหล่นทางความรู้สึกของพ่อแม่ไปมากน้อยแค่ไหน  และทางออกใดที่จะสามารถเพิ่มเติมความรู้สึกของพ่อแม่ได้

เปิดใจ พูดคุย รับฟัง=หาทางออก

“ลูกต้องพูดคุยมากขึ้น พ่อแม่ต้องฟังมากขึ้น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ไม่มีใครมาฟันธงว่าคุณผิดคุณถูก

“ในกรณีพ่อแม่ ยามหน้าสิ่วหน้าขวานเราต้องทำหน้าที่เป็นพ่อแม่คือการช่วยเหลือ ในขณะเดียวกันในยามปกติก็ต้องทำหน้าที่เป็นเพื่อนที่ดี คอยรับฟังและสามารถแหย่ แซวได้เพื่อลดช่องว่าง เพิ่มความเข้าใจให้กันและกัน”

เริ่มจากบทบาทของพ่อแม่ ที่ไม่ได้มีเพียงแค่บทบาทพ่อแม่เพียงอย่างเดียว หากใส่บทบาทความเป็นเพื่อนลงไปรับฟังกันมากขึ้น เพราะส่วนใหญ่เมื่อลูกมาเล่าประสบการณ์ ปัญหาต่างๆ พ่อแม่ก็มักจะสั่งและสอน ตัดสินไปแล้วว่าถูกหรือผิด จึงทำให้ลูกหลานไม่อยากจะเริ่มพูดคุยต่อ ทำให้เกิดช่องว่าง และความสัมพันธ์ที่ถดถอยลง บางบทสนทนาการสั่งสอนก็อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ลูกหลานในครอบครัว เพียงแต่ต้องการรับฟังและเข้าใจในความรู้สึกของเขาเท่านั้นเอง

“ในส่วนของลูกก็ควรสนทนากับพ่อแม่ แลกเปลี่ยนเรื่องราว ปัญหา ความรู้สึกกัน ในบรรยากาศที่เป็นกันเอง”

สิ่งที่แก้ปัญหาได้ดีที่สุด ก็คือ ลดความคาดหวังของกัน การพูดคุยกันและรับฟังให้มากขึ้น โดยเริ่มต้นจากการสื่อสารในครอบครัว

เพราะอย่างไรครอบครัวก็ยังคงเป็นที่ที่ปลอดภัยที่สุดเสมอ

Credits

Author

  • สุกฤตา ณ เชียงใหม่

    Author & Drawรับบทเป็นกราฟิกสาววัยเบญจเพส เป็นคนชอบศิลปะ จับปากกา แต่พอโตขึ้นมาเพิ่งจะรู้ว่าชอบเธอ ฮิ้ววว :)

ถึงจะต่างวัยแต่ก็
อยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจ