Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

100 ปี ‘ซีอิ๊วตรารถยนต์’ แบรนด์ซีอิ๊วท้องถิ่นที่เหลือหนึ่งเดียวในภูเก็ต


ถ้าใครได้บุกไปถึงก้นครัวของชาวภูเก็ตแท้ๆ ก็จะพบเครื่องปรุงชนิดหนึ่งที่เป็นเพื่อนคู่ครัว และถือเป็นเคล็ดลับความอร่อยของอาหารขึ้นชื่อสไตล์ภูเก็ตมาอย่างยาวนาน 3 ชั่วอายุคน นั่นก็คือ “ซีอิ๊วตรารถยนต์” ที่ผลิตจากโรงงานซีอิ๊วจันทร์แสง เป็นซีอิ๊วสูตรฮกเกี้ยน หมักในโอ่งดิน ด้วยกรรมวิธีการแบบธรรมชาติ ที่มีจุดเริ่มต้นจากการหมักเพื่อแจกจ่ายแบ่งกันในกลุ่มชาวจีนที่อพยพมาลงหลักปักฐานที่ภูเก็ต กระทั่งผ่านมา 3 ชั่วอายุคน

“ซีอิ๊วตรารถยนต์” กลายเป็นแบรนด์ซีอิ๊วท้องถิ่นแบรนด์เดียวที่ยังคงเหลืออยู่ในจังหวัดภูเก็ต

มนุษย์ต่างวัยชวนลงใต้ไปยังเกาะภูเก็ต เพื่อฟังเรื่องราวการเดินทางของ “ซีอิ๊วตรารถยนต์” ตำนานความอร่อยที่มีอายุกว่า 100 ปี

เกียรติศักดิ์ จันทร์เวียงทอง ทายาทรุ่นที่ 2 ของโรงงานซีอิ๊วแสงจันทร์ เล่าว่า ซีอิ๊วตรารถยนต์เริ่มต้นมาจากรุ่นคุณพ่อคุณแม่ของเขา ซึ่งเดินทางมาจากเมืองจีน อพยพเข้ามาในประเทศไทย มาแบบเสื่อผืนหมอนใบเพื่อมาหาลู่ทางในการทำมาหากิน ด้วยความที่ครอบครัวมีวิชาการหมักซีอิ๊วก็เลยทดลองนำมาหมักไว้ใช้เองในครัวเรือน จากนั้นก็เริ่มการแจกจ่ายให้คนจีนด้วยกันก่อน ในตอนนั้นแม้ไม่มีสื่อโฆษณาแต่ซีอิ๊วที่ครอบครัวของเกียรติศักดิ์ผลิตขึ้นก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แบบปากต่อปาก รสชาติถูกใจโดยเฉพาะในหมู่คนจีนในภูเก็ต เมื่อเริ่มมีคนสนใจมากขึ้น จึงนำไปสู่การเปิดขายคู่กับการเปิดร้านขายของชำในสมัยนั้น ยุคเริ่มแรกของเราเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2482 ก็ประมาณ 80 ปีแล้ว แต่สูตรที่มาหมักคือถ่ายทอดวิชากันมาเป็นร้อยปี

“สำหรับชื่อซีอิ๊ว ‘ตรารถยนต์’ มาจากพาหนะที่คุณพ่อคุณแม่ของผมใช้เดินทางมายังประเทศไทย เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของการเดินทางจากถิ่นฐานบ้านเกิดสู่เมืองไทย ความจริงเราทำหลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็นซีอิ๊วที่มีโลโก้เป็น เครื่องบิน เรือกลไฟ อันนี้ก็มีที่มาจากพาหนะที่คุณพ่อโดยสารจากเมืองจีนมาภูเก็ตและจากภูเก็ตกลับเมืองจีนเพราะสมัยก่อนที่คนจีนจะมาไทยก็ต้องนั่งเรือกลไฟที่มีปล่องเป็นชั้นไม้ ใช้ไม้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง ทุกสัญลักษณ์ที่นำมาใช้เป็นโลโก้ล้วนเป็นเรื่องราวการเดินทางเพื่อระลึกถึงที่มาและผืนแผ่นดินถิ่นเกิด ซึ่งยี่ห้อที่ต่างกันก็เป็นสิ่งช่วยบอกเกรดคุณภาพของสินค้าที่ต่างกัน แต่ปัจจุบันที่นิยมก็คือตรารถยนต์ ในรุ่นแรกก็ใส่ขวดเบียร์ขายโดยใช้แป้งเปียกติดกับกระดาษฉลากและติดบนขวดเบียร์เป็นโลโก้ หมักขายกันหลังบ้านที่เป็นร้านของชำยังไม่ได้เป็นโรงงานที่เห็นกันจนถึงวันนี้”

“ในสมัยก่อนรุ่นที่ 1 เริ่มทำขายแต่ก็ยังไม่จริงจัง เพราะว่าช่วงนั้นที่บ้านขายของชำ ขายเหล้าเบียร์ไปด้วย แล้วก็มีอีกอาชีพคือทำสวนยาง การทำซีอิ๊วจึงเป็นเหมือนรายได้เสริมของครอบครัวที่ทำเล็กๆ น้อยๆ พอผมที่เป็นทายาทรุ่นที่ 2 เรียนจบก็เลยมีความคิดว่าเรามีชื่อเสียงด้านซีอิ๊วอยู่แล้ว ทำไมถึงไม่ทำขายจริงจังเป็นแบรนด์ของตัวเอง จากที่ขายเหล้าขายเบียร์เราก็ขายน้อยลง จนสุดท้ายเราก็ไม่ขายเลย เราก็มาเน้นที่ซีอิ๊วของเราอย่างเดียว เหมือนเริ่มทำตลาดจริงจังในรุ่นที่ 2

“พอคิดจะเริ่มทำจริงจังสิ่งที่ทำคือ เราเริ่มขับรถกระบะเร่ขาย ล่องไปยังจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ ถ้าใครเคยได้ยินเสียงรถที่ขายน้ำปลาใส่ขวดตามบ้าน นั่นแหละครับคือวิธีการที่ผมใช้ในการขายของ สมัยนั้นเราขับรถกระบะบรรทุกซีอิ๊วเร่ขายไปกับภรรยาสองคน ขายได้ครั้งละ 1 ขวดบ้าง 2 ขวดบ้าง ตามบ้านเรือนต่างๆ ไม่ใช่ว่าขายดีโด่งดังทั่วภูเก็ตมาตั้งแต่แรก เราใช้เวลาถึง 4 ปี กว่าจะเป็นที่รู้จัก ทุกอย่างมาได้ด้วยความตั้งใจและเวลาที่สะสมชื่อเสียง จาก 1 ขวด 2 ขวด ในวันนั้น ก็เริ่มขยายพื้นที่ไปที่ พังงา กระบี่ ตะกั่วป่า ขายจนเป็นที่รู้จักในนามของซีอิ๊วจากภูเก็ตที่ครองใจทั้งคนภูเก็ตและคนใต้ในอีกหลายจังหวัด”

“เราเป็นธุรกิจในครัวเรือน เพราะฉะนั้นเราก็สามารถควบคุมการผลิตทุกขั้นตอนได้ ตั้งแต่เริ่มต้นคือต้องต้ม ถั่ว เหลือง จากนั้นก็ผ่านกระบวนการหมัก ซึ่งการหมักเราก็ยังใช้สูตรแบบโบราณคือใช้น้ำตาลแท้ ไม่มีการเปลี่ยนไปใช้ไซรัป ซึ่งมีหลายบริษัทพยายามจะเข้ามาเสนอให้ใช้ไซรัปแทนน้ำตาลเพราะประหยัดกว่า เราก็ไม่เคยเปลี่ยนเลย ถึงแม้จะเป็นรุ่นลูกรุ่นที่ 3 ที่มารับช่วงต่อ อะไรที่เป็นสูตรตกทอดมาจากวันนั้นเป็นอย่างไรวันนี้ก็ยังเป็นเหมือนเดิม   สำหรับการหมักเราก็ใช้วิธีหมักในโอ่ง การหมักโอ่งเป็นกรรมวิธีที่สืบทอดมาตั้งแต่รุ่นอาม่า เหตุผลที่ยังคงใช่โอ่งเพราะจะทำให้ซีอิ๊วมีรสชาติและกลิ่นที่หอม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเพราะฉะนั้นด้วยกระบวนการทุกอย่างจึงทำให้ความหอม ความสดใหม่ ความธรรมชาติ ยังคงอยู่ไม่ว่ากาลเวลาจะเปลี่ยนไป ซึ่งต้องหมักในโอ่งไว้ 1 ปี ถึงจะได้เป็นซีอิ๊วออกมาขาย แต่เราอาจจะมีปรับพวกเครื่องไม้เครื่องมืออยู่บ้างเพื่อทุ่นแรงและให้เข้ากับหลักอนามัย

“ตอนนั้นมีแบรนด์ที่เป็นเจ้าตลาดอยู่แล้วนะ แต่ที่ซีอิ๊วตรารถยนต์ได้รับความนิยมในภาคใต้ก็เพราะรสชาติที่ถูกปาก และเป็นความคุ้นชินของชาวบ้านด้วยที่ชินในรสชาติและอยู่คู่ครัวมานาน ที่สำคัญคือเราผลิตตามออเดอร์ เราไม่ได้มีสต๊อกล้นๆ เยอะๆ ลูกค้าสั่งมาเราถึงจะแพ็กแล้วก็ส่งไป ความสดตรงนี้จึงได้เปรียบกว่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ สมัยก่อนซีอิ๊วเป็นที่นิยมมีโรงงานเกิดขึ้นมากมาย แต่สุดท้ายก็เหลือของเราโรงงานเดียวเป็นโรงงานสุดท้ายที่อยู่คู่ภูเก็ต เราเชื่อว่าเพราะสูตรของบรรพบุรุษที่เราพยายามรักษาไว้ซึ่งคุณภาพทุกกระบวนการทำให้เรามาได้จนถึงทุกวันนี้”

“เมนูประจำท้องถิ่นของภูเก็ตคือ หมูฮ้อง ซึ่งถ้าเป็นสูตรภูเก็ตแท้ๆ ต้องใช้ซีอิ๊วตรารถยนต์ ด้วยความที่ลูกค้าให้ความไว้วางใจและเรายังคงเน้นคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญตลอดการทำธุรกิจ ทำให้กลุ่มลูกค้าก็จะส่งต่อกันมาเป็นรุ่นต่อรุ่น จากปู่ ย่า ตา ยาย ใช้ก็มารุ่น พ่อแม่ สุดท้ายเด็กในยุคปัจจุบันก็ไม่มีบ้านไหนไม่เคยเห็นซีอิ๊วตรารถยนต์ เคยมีลูกค้าเค้าก็ตอบกลับมาว่าพอกินของยี้ห้ออื่นก็กินไม่ได้เลย เหมือนผิดสูตรที่เคยกินตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ เค้าก็บอกว่ามันไม่เข้ากัน อะไรประมาณนี้ครับ สำคัญที่สุดคือรสชาติเราไม่เหมือนใคร เพราะของเรายังคงความหอมที่เป็นเอกลักษณ์ส่งทอดมาเป็น 100 ปี”

วรรัช จันทร์เวียงทอง ทายาทรุ่นที่ 3 เล่าต่อว่า “ผมตั้งใจรับช่วงต่อตั้งแต่ยังเรียนอยู่นี่แหละครับ เพราะว่าคุณพ่อคุณแม่จะถามตลอดว่า ‘จะทำไหมซีอิ๊ว’ ผมไม่เคยลังเลและไม่เคยมีความคิดเลยที่จะไม่ทำ เพราะเวลาสมัยไปเรียนกลับมาบ้านก็มาคลุกคลีอยู่กับการทำซีอิ๊ว ไปเล่น ไปล้างขวด ไปยกขวดตาก เวลาคุณพ่อไปรับที่โรงเรียนก็เอาซีอิ๊วไปส่งด้วย เพราะฉะนั้นผมก็จะผูกพันกับโรงงานนี้มาก อีกอย่างหนึ่งคือถ้าเราไม่ทำธุรกิจท้องถิ่นประจำจังหวัดอย่างเช่นซีอิ๊วจะไม่มีเหลืออีกเลย รุ่นอากง อาม่า พ่อ แม่ สร้างมาเป็นร้อยปี เราไม่อยากจบประวัติศาสตร์ที่รุ่นเรา

“สำหรับผมในฐานะคนรุ่นที่ 3 หัวใจสำคัญที่ยังยึดในการทำธุรกิจคือ ผมจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลงสูตรเพื่อลดต้นทุนเด็ดขาด ไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหน ซีอิ๊วตรารถยนต์ จะยังคงรสชาติเหมือนเดิมแม้จะผ่านมาถึง 3 รุ่นแล้วก็ตาม แต่ก็มีการปรับในเรื่องของช่องทางการทำตลาดออนไลน์ ออกบูธ และขายในห้างสรรพสินค้าเพิ่มขึ้นด้วย”

Credits

Authors

  • นันท์นภัส โอดคง

    Creativeครีเอทีฟตัวกลม อารมณ์ดี รักภูเขา หลงรัก จ.เชียงใหม่ ชอบการเดินทาง enjoy กับการกินอาหารท้องถิ่น สนุกกับการรู้จักคนใหม่ๆ อนาคตที่ฝันไว้สูงสุดคืออยากเป็นคนที่ถูกหวย

  • พงศกร บุญภู่

    Photographerช่างภาพเชียงราย ที่หลงรักในทะเล ธรรมชาติ และเสียงเพลง สื่อสารภาพทางแววตาที่บ่งบอกถึงความรู้สึก

ถึงจะต่างวัยแต่ก็
อยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจ