เคยไหม? ขำจนไม่ใช่แค่ ‘น้ำตา’ ที่เล็ด หรือจามจนสิ่งที่ไหลไม่ใช่แค่ ‘น้ำหูน้ำตา’
มนุษย์ต่างวัยชวนทุกท่านมารู้จักอาการ ‘ปัสสาวะเล็ด’ อาการที่หลายคนแค่ได้ยินก็อยากจะเอามือปิดหน้า แต่เชื่อหรือไม่ว่า ในสหรัฐอเมริกามีคนต้องประสบปัญหานี้ถึง 25 ล้านคน และกว่า 75-80% เป็นผู้หญิง
ไม่เพียงเท่านั้น สมาพันธ์ผู้ประสบปัญหากลั้นปัสสาวะไม่อยู่แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (ค่ะ เขามีองค์กรเพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะเลยนะคะ เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาการปัสสาวะเล็ดว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ และไม่ใช่เรื่องน่าอาย) คาดว่า 1 ใน 4 ของผู้หญิงอายุมากกว่า 18 ต้องเคยประสบปัญหานี้ และวันที่ 20 – 26 มิถุนายนที่ผ่านมายังเป็นสัปดาห์ปัสสาวะเล็ดสากลอีกด้วย! (ซึ่งเป็นสัปดาห์ที่จัดขึ้นโดยสมาคมอาการปัสสาวะเล็ดสากลเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาการปัสสาวะเล็ดค่ะ)
อาการปัสสาวะเล็ดคืออะไร? ทำไมผู้หญิงหลายคนถึงเจอปัญหานี้นัก? มาทำความรู้จักกับอาการปัสสวะเล็ดและวิธีเอาตัวรอดจากประสบการณ์รั่วๆ เหล่านี้กัน!
“บ้าน่า โตป่านนี้แล้วยังปัสสาวะเล็ดอีกเหรอ?”
หลายคนได้ยินคำว่า “ปัสสาวะเล็ด” แล้วอาจจะเกิดคำถามนี้ แต่หากใครไม่เชื่อว่า “เมื่ออายุมากขึ้นแล้วก็ยังเล็ดได้” ขอเชิญทุกท่านมาพบกับประสบการณ์รั่วๆ ที่กลั้นไม่อยู่จากพี่น้องชาวเน็ตกันเลย! (.///.)
30… ไม่แจ๋วแล้วเหรอ…?
เดี๋ยวนี้พวกเราอยู่ในยุคที่ “50 ยังแจ๋ว” หรือ “60 ยังแจ๋ว” กันแล้ว ซึ่งพวกเราชาวมนุษย์ต่างวัยก็หาได้เห็นต่างแต่อย่างใด เพราะความแจ๋วนั้นไซร้อยู่ที่ใจใช่อายุแต่สาวๆ บางคนเพิ่งแตะเลข 3 ก็อาจเจอประสบการณ์รั่วๆ ที่กลั้นไม่อยู่จนชวนให้สงสัยว่า “อ้าว 30 ก็ไม่แจ๋วแล้วหรือนี่…?” อย่างหญิงสาวคนนี้ที่คุณเพื่อนของเขาน่าจะมีอารมณ์ขันไปสักหน่อย…
“อายุ 30 แล้วเผลอฉี่เล็ดค่ะ ไม่ได้เมาหรืออะไรนะคะ แต่ว่าเข้าห้องน้ำไม่ทันเลยต้องกลั้นไว้ ทีนี้เพื่อนมันเล่ามุกตลกให้ฟังแล้วขำหนักไปหน่อย เล็ดออกมาเลยค่ะ”
เชื่อแล้วค่ะว่าคุณเพื่อนเขาตลกจริง ไม่ได้เล็ดแค่น้ำตาเลยทีเดียว
คุณแม่โปรดรักษาสุขภาพ ไม่งั้นจะไม่ใช่แค่จามจน “น้ำหูน้ำตา” ไหล
คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ย่อมต้องดูแลสุขภาพกันในหลายๆ ภาคส่วน ยืนเดินลุกนั่งอะไรก็ต้องระวัง อาหารก็ต้องเป็นของที่อุดมไปด้วยสารอาหารสำหรับลูกน้อยเท่านั้น แต่คุณแม่ดูแลตัวเอง ดูแลลูกน้อยแล้ว ก็ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่มองข้ามไปไม่ได้เลยนะคะ…
“ช่วงนี้ใกล้คลอดแล้ว พอจามแล้วมันกระฉอกออกมาตลอดเลยค่ะ ._. คุณแม่คนอื่นๆ เป็นเหมือนกันหรือเปล่าคะ?
“อย่าว่าแต่จามเลยค่ะ ให้กลั้นยังไม่ค่อยจะอยู่ ถ้ากลั้น = ราดเท่านั้น 5555 แต่ไม่เป็นไรนะคะ เวลาท้องก็เป็นแบบนี้แหละค่ะ”
มั่นใจว่ายิ่งช่วงใกล้คลอด จิตใจของคุณแม่ก็ยิ่งจดจ่ออยู่กับลูกน้อยเข้าไปใหญ่ แต่นอกจากตั้งตารอลูกน้อยแล้ว ก็อย่าลืมหาวิธีดูแลเรื่องรั่วๆ ที่กลั้นไม่อยู่กันนะคะ
อยากจะลุกขึ้นมาฟิต แต่ชีวิตไม่เป็นใจ!
สาวๆ หลายคนพออายุเพิ่มขึ้น ก็เริ่มต้องหันกลับมาใส่ใจสุขภาพร่างกายกันบ้างเป็นธรรมดา แต่ไม่ว่าจะดูแลร่างกายตัวเองอย่างไร ก็ขอให้รู้ว่าการออกกำลังกายอาจจะนำมาซึ่งประสบการณ์รั่วๆ ได้เหมือนมิตรสหายชาวเน็ตท่านนี้นะคะ…
“วันก่อนกระโดดเชือกอยู่แล้วเหมือนมันมีอะไรซึมออกมาค่ะ ตอนแรกคิดว่าเป็นประจำเดือนนะคะ แต่พอก้มดูแล้ว… เป็นฉี่ค่ะ อายจนไม่กล้าบอกใครเลยค่ะ T T”
แต่เห็นแล้วใช่หรือไม่คะ ว่าหากคุณเคยประสบปัญหานี้มาก่อน คุณไม่ได้เดินเดียวดายแน่นอน เพราะที่ไหนสักแห่งข้างนอกนั่น ยังมีพี่น้องชาวเน็ตที่แบ่งปันประสบการณ์เหล่านี้กับคุณอยู่เหมือนกันค่ะ!
พอประสบปัญหาเล็ดๆ รั่วๆ แบบนี้แล้ว หลายคนอาจเกิดความรู้สึกว่า “เอ๊ะ ก็ยังไม่ได้ถึงวัยที่จะมีปัญหานี้ซะหน่อย จะเริ่มเล็ดกันตั้งแต่ตอนนี้ได้ยังไง!?” แต่ความจริงแล้ว ไม่ต้องรอให้อายุมากเสมอไป เพราะปัญหาปัสสาวะเล็ดอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และไม่ใช่เรื่องน่าอายเลยนะคะ
กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อน
กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน คือกล้ามเนื้อรองรับอวัยวะต่างๆ บริเวณเชิงกราน อย่างกระเพาะปัสสาวะและมดลูกของผู้หญิง นอกจากนี้ กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ยังเป็นกล้ามเนื้อที่ช่วยเราควบคุมปัสสาวะ ผายลม และถ่ายหนักอีกด้วย ฉะนั้น หากกล้ามเนื้องอุ้งเชิงกรานของเรามันเริ่มเหนื่อยเริ่มล้าเหมือนแทบขาดใจขึ้นมา หลายๆ คนก็อาจประสบปัญหากลั้นน้ำกลั้นลมไม่อยู่ก็เป็นได้ .///. โดยสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อนหรืออ่อนแรง อาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากอายุที่เพิ่มขึ้น หรือจากวิถีชีวิตของเรานี่เอง อย่าง การมีน้ำหนักตัวมาก หรือการยกของหนัก เป็นต้น
การตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์ส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่เปลี่ยนแปลงหลายอย่างๆ นอกจากนี้น้ำหนักและขนาดตัวที่เพิ่มขึ้นของลูกน้อยยังสามารถกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้คุณแม่เกิดอาการปวดปัสสาวะบ่อยๆ หรืออั้นปัสสาวะไม่อยู่จนเกิดการปัสสาวะเล็ดออกมาบ้างก็เป็นได้…
แรงดันในช่องท้อง
เจ้าสิ่งนี้เรียกว่าเป็นตัวการใหญ่สุดของอาการปัสสาวะเล็ดในเราๆ ท่านๆ ก็ว่าได้ เมื่อเราทำกิจกรรมที่ทำให้แรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างการไอ จาม หัวเราะ หรือกระโดด แรงดันจะไปกดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปวดปัสสาวะขึ้นมาฉับพลัน หรือทำให้ปัสสาวะเล็ดได้ โดยสมาคมแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะของประเทศญี่ปุ่น (The Japanese Urological Association) กล่าวว่านี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงมากกว่า 5 ล้านคนต้องเผชิญกับอาการปัสสาวะเล็ดเลยทีเดียว!
เมื่อประสบปัญหารั่วๆที่กลั้นไม่อยู่แล้วจะทำยังไงดี? หลายคนอาจหันไปหาไอเท็มคู่ใจที่คุ้นเคยกันอย่างผ้าอนามัยก่อนเป็นอันดับแรก แต่ว่าคนที่ไม่ใช่แฟนทำแทนกันไม่ได้ ของที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์นี้ก็ใช้แทนกันไม่ได้เหมือนกันค่ะ! เพราะว่า
ปริมาณ
เลือดประจำเดือนมักจะค่อยๆ ซึมออกมาทีละน้อย แต่กับอาการปัสสาวะเล็ดที่เรียกได้ว่าให้กลั้นยังไม่ค่อยจะอยู่ แถมยังมาแบบไม่ให้ทันตั้งตัวอีก ผ้าอนามัยที่ถูกออกแบบมาให้รองรับของเหลวทีละน้อยๆ จึงทำแทนกันไม่ได้จริงๆ
กลิ่น
ปัญหาโลกแตกที่ดูจะใหญ่กว่าอาการปัสสาวะเล็ดคือปัญหาเรื่องกลิ่นค่ะ ชาวเน็ตหลายคนทีเดียวที่กล่าวเลยว่า “เปียกไม่ว่า อย่าให้มีกลิ่นแล้วกัน!” เดี๋ยวนี้ผ้าอนามัยอาจมีน้ำหอมหลายแบบ แต่ว่าน้ำหอมอย่างเดียวยังไม่สามารถดับกลิ่นปัสสาวะได้ แผ่นซึมซับปัสสาวะจึงมักถูกออกแบบมาให้มีสารสำหรับดูดซับกลิ่นเป็นการพิเศษเพราะมีโพลิเมอร์เจลที่จะช่วยปรับสภาพปัสสาวะ ไม่ให้เป็นของเหลวและไม่ส่งกลิ่นออกมาเป็นต้น ฉะนั้นผ้าอนามัยจึงใช้สำหรับอาการปัสสาวะเล็ดไม่ได้!
ความสะอาด
อีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่ผู้หญิงหลายคนกังวลคือเรื่องความสะอาด อย่างที่เราบอกไปว่าผ้าอนามัยทั้งไม่สามารถดูดซับของเหลวปริมาณมากได้ แถมยังไม่สามารถดูดซับได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย นี่จึงทำให้ใครที่ใช้ผ้าอนามัยอาจต้องเสี่ยงกับความอับชื้น แล้วไหนจะยังผื่นคันและอาการระคายเคืองจากความเป็นกรดของปัสสาวะอีกด้วย ฉะนั้นกับอะไรที่ไม่ใช่ ก็อย่าให้น้องสาวของเราต้องเสี่ยงค่ะ!
ถ้างั้นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาปัสสาวะเล็ดโดยเฉพาะนี้คืออะไร? ผ้าอนามัยไม่ใช่คำตอบของปัสสาวะเล็ดหรอ? แล้วถ้าไม่ใช่ ‘ผ้าอนามัย’ แล้วมันยังมีอย่างอื่นอีกหรือ? ใช่แล้วค่ะ นอกจากผ้าอนามัยแล้วมันยังมีอย่างอื่นอีกค่ะ
นั่นคือ “แผ่นซึมซับปัสสาวะ” ที่ไม่ใหญ่ ไม่เทอะทะ แต่บางเฉียบเหมือนผ้าอนามัยแผ่นหนึ่งเท่านั้น
แผ่นซึมซับปัสสาวะของไลฟ์รี่ เดลี่ แคร์ มีทั้งคุณสมบัติในการลดกลิ่นด้วยโพลิเมอร์เจล ช่วยแก้ปัญหากลิ่นที่ผู้หญิงหลายๆ คนกังวล พร้อมแผ่นซึมซับพิเศษช่วยให้ซึมซับได้เร็วและแห้งสบาย ไม่ต้องกลัวเรื่องความอับชื้น นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพในการซึมซับให้เลือกหลายระดับให้เลือกใช้แต่ละอาการ ตั้งแต่อาการปัสสาวะเล็ดเล็กน้อย (10 ซีซี) ไปจนถึงปัสสาวะเล็ดมากเป็นพิเศษ (300 ซีซี)
ไม่ว่าจะเป็นคุณแม่ หรือคุณผู้หญิงวัยทำงาน ก็สามารถใช้ชีวิตได้สะดวกสบายขึ้นอย่างหายห่วง โดยไม่ต้องพะวงกับประสบการณ์รั่วๆ ที่กลั้นไม่อยู่ให้กังวลใจอีกต่อไป แค่เราเลือกใช้สิ่งที่ใช่ดูแลคุณนะคะ
เจ้าสิ่งนี้เรียกว่าเป็นตัวการใหญ่สุดของอาการปัสสาวะเล็ดในเราๆ ท่านๆ ก็ว่าได้ เมื่อเราทำกิจกรรมที่ทำให้แรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างการไอ จาม หัวเราะ หรือกระโดด แรงดันจะไปกดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปวดปัสสาวะขึ้นมาฉับพลัน หรือทำให้ปัสสาวะเล็ดได้ โดยสมาคมแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะของประเทศญี่ปุ่น (The Japanese Urological Association) กล่าวว่านี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงมากกว่า 5 ล้านคนต้องเผชิญกับอาการปัสสาวะเล็ดเลยทีเดียว!
อีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่ผู้หญิงหลายคนกังวลคือเรื่องความสะอาด อย่างที่เราบอกไปว่าผ้าอนามัยทั้งไม่สามารถดูดซับของเหลวปริมาณมากได้ แถมยังไม่สามารถดูดซับได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย นี่จึงทำให้ใครที่ใช้ผ้าอนามัยอาจต้องเสี่ยงกับความอับชื้น แล้วไหนจะยังผื่นคันและอาการระคายเคืองจากความเป็นกรดของปัสสาวะอีกด้วย ฉะนั้นกับอะไรที่ไม่ใช่ ก็อย่าให้น้องสาวของเราต้องเสี่ยงค่ะ!
หรือสั่งซื้อแผ่นซึมซับปัสสาวะเล็ดผ่านช่องทาง Shopee Lazada หรือ JD Central ได้ที่
เอกสารอ้างอิง
- URINARY INCONTINENCE IN WOMEN STATISTICS, Phoenix Physical Therapy, PLC: https://bit.ly/3OdYkiv
- Urinary Incontinence in Women, Johns Hopkins Medicine: https://bit.ly/3cieIkO
- อย่ามองข้ามโรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่, โรงพยาบาลกรุงเทพ: https://bit.ly/3Pltshp
- World Continence Week 2022, The Urology Foundation: https://bit.ly/3PFc6vT
- Pelvic floor muscles Continence Foundation of Australia: https://www.continence.org
- Pregnancy and Bladder Control, Cleveland Clinic: https://my.clevelandclinic.org
- Urinary incontinence – Causes, NHS: https://www.nhs.uk
- ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน, โรงพยาบาลรามคำแหง: https://www.ram-hosp.co.th
- Urinary incontinence, Mayo Clinic: https://www.mayoclinic.org
- 尿が漏れる・尿失禁がある, The Japanese Urological Association: https://www.urol.or.jp
- Bladder Control Products for Urinary Incontinence, WebMD: https://www.webmd.com
- Incontinence Porduct, NHS: https://www.nhs.uk
- Why You Shouldn’t Use a Maxi-Pad For Incontinence, National Association for Continence: https://www.nafc.org