“การมีมิตรภาพต่างวัย ก็เหมือนการเติมเต็มบางอย่างที่ขาดหายไปของกันและกัน”
มนุษย์ต่างวัยชวนคุยกับ ป้าจุก-สุชาดา วงษ์บัวแก้ว วัย 71 ปี นักเรียนโยคะที่อายุมากที่สุดในชั้นเรียนของ ครูวุธ-ภัทราวุธ ลัดดากุล คุณครูโยคะ วัย 39 ปี กับเรื่องราวมิตรภาพต่างวัยยาวนานกว่า 10 ปี ที่เริ่มต้นจากชั้นเรียนโยคะ สู่การเป็นจิ๊กซอว์ชีวิตของกันและกันที่ไม่ใช่แค่การเป็นครูกับลูกศิษย์ แต่เปรียบเสมือนแม่ลูกที่เข้ามาเติมเต็มส่วนที่ขาดหายไป
แต่ก่อนป้าจุกไม่สนิทกับลูก เพราะเลี้ยงลูกอยู่ในกรอบมาโดยตลอด แม้ลูกจะเป็นลูกที่ดีและรักกันมาก ส่วนครูวุธก็ต้องอยู่ไกลบ้านไกลแม่เพื่อมาทำงานเป็นครูสอนโยคะในกรุงเทพฯ ทำให้ในเวลาต่อมาครูวุธได้กลายเป็นเพื่อนต่างวัยเพียงไม่กี่คนในโลกของป้าจุกที่สามารถคุยกันได้แบบไม่มีกรอบกั้น ในขณะเดียวกันโลกของครูวุธก็มีป้าจุกเป็นเหมือนแม่อีกคนเช่นกัน
“ป้าโชคดีที่มีครูวุธเป็นเพื่อนรุ่นลูก เพราะโลกของเราจะได้ไม่มีแค่การอยู่กับเพื่อนวัยเดียวกันที่คิดแบบเดียวกัน”
“สำหรับผมเอง การมีป้าจุกเป็นเพื่อนรุ่นแม่ หรือเป็นแม่อีกคน ทำให้เราได้เรียนรู้ความคิดของคนสูงอายุ สะท้อนไปถึงแม่ของตัวเอง และเป็นเหมือนแรงบันดาลใจหลายๆ อย่างในการใช้ชีวิตให้กับเรา”
ใครที่กำลังกล้าๆ กลัวๆ ที่จะมีเพื่อนสนิทต่างวัยกัน ลองอ่านเรื่องราวชวนอบอุ่นหัวใจของครูวุธ และป้าจุก ที่อาจทำให้คุณพร้อมเปิดใจสร้างมิตรภาพกับเพื่อนต่างวัยได้ง่ายขึ้น
เริ่มต้นเล่นโยคะครั้งแรกใน วัย 60
ป้าจุก-สุชาดา วงษ์บัวแก้ว วัย 72 ปี เล่าย้อนไปว่า
“หลังจากเกษียณอายุราชการ ก็เหมือนหมดภารกิจที่ต้องทำ งานประจำ เพราะลูกๆ ก็โตทำงานกันหมดแล้ว คำถามที่ว่า ‘เกษียณแล้วจะไปทำอะไรดี’ เป็นคำที่ถามตัวเองบ่อยมาก เพราะเป็นคนรักอิสระ ไม่ชอบอยู่บ้านคนเดียว ชอบออกไปเจอผู้คน แต่ถ้าจะไปเที่ยวก็ไม่มีเพื ่อนที่พาไปได้ทุกวันเพราะต่างคนก็ต่างมีรูปแบบชีวิตที่ ต่างกัน การค้นหากิจกร รมในชีวิตเพื่อเป็นเพื่อนคลายเหงา ที่สามารถทำได้ทุกวันจึงเริ่มขึ้น และโยคะก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่อยากลอง
“ป้าจุกเป็นคนเล่นกีฬา และก็รู้สึกว่าโยคะเป็นกิจกรรมที่น่าลองดู เล่นวันแรก โอ้โห! มันไม่ง่ายเลยสำหรับวัยป้า แต่เพราะป้าเป็นคนสู้มาตั้ง แต่สาวๆ ในเมื่อตัดสินใจเล่นแล้วก็ลองดูให้มันสุดๆ สักตั้ง แม้จะเจ็บช่วงแรกๆ จนไม่อยากจะเรียนอีกแล้ว แต่พออดทนจนร่างกายเริ่มรับไหว ‘โยคะ’ ก็กลายเป็นความสนุกและรอยยิ้มของป้ามาเป็น 10 ปีแล้ว สิ่งสำคัญที่ทำให้ป้าเล่นมา ได้หลายปีก็เพราะครูวุธด้วย เป็นครูรุ่นลูกที่สอนดี เอาใจใส่เรา กลายเป็นติดครูมากกว่าโยคะแล้ว (หัวเราะ)”
ครูวุธ-ภัทราวุธ ลัดดากุล คุณครูโยคะ วัย 39 ปี เล่าต่อว่า เริ่มแรกผมกับป้าจุก รู้จักกันในฐานะครูสอนโยคะกับนักเรียนที่อายุมากที่สุดในคลาส ตอนแรกก็แอบหวั่นใจว่าป้าจุกจะเล่นได้ไหม เพราะโยคะถือเป็นการออกกำลังกายที่ยากสำหรับผู้สูงอายุ บางท่าก็มีความเสี่ยง แต่ก็เห็นถึงความพยายามของป้าจุก ที่มาทุกวันแทบไม่เคยขาด จนเก่งขึ้น จากวันนั้นจนวันนี้โยคะก็เป็นเหมือนสะพานเชื่อมที่ทำให้ผมและป้าจุกได้มารู้จักกัน”
จากครูโยคะกลายเป็นเพื่อนซี้รุ่นลูก
“ถ้าถามว่าทำไมจากครูกับลูก ศิษย์ถึงกลายมาเป็นเพื่อนรุ่นแม่กันได้ ผมมองว่าส่วนหนึ่งเพราะเคมี ในการคุยเราไปด้วยกันได้ ป้าจุกเป็นคนอารมณ์ดี และเป็นกันเอง ความน่ารักของแกเป็นเหมือนประตูด่านแรกที่ทำให้เราได้เริ่มต้นรู้จักกัน สมัยก่อนผมยังไม่มีสตูดิโอเป็นของตัวเองในการสอน เวลาผมไปสอนที่ไหนป้าก็จะตามไปเรียนด้วยทุกที่ตลอด จนหลังๆ เราเริ่มมีแก๊งที่จะออกกำลังกายด้วยการเล่นโยคะ เป็นแก๊งลิเก ที่จะเรียกแทนตัวเองเหมือนหนังจักรๆ วงศ์ๆ ซึ่งป้าจุกคือ ‘หม่อม’ ของแก๊ง ส่วนผมก็คือ ‘องค์ชาย’ หรือ ‘ชาย’ ของแก๊ง (หัวเราะ)”
“สำหรับป้าจุก ครูวุธเป็นครูสอนโยคะที่แม้จะอายุต่างกัน แต่เราสัมผัสได้ถึงความจริงใจและเต็มที่ในการสอน บางครั้งสอนฟรีก็มี เหมือนเป็นคนที่รักโยคะมาก เพราะครูวุธเคยหายป่วยจากการเล่นโยคะ เขาจึงเน้นสอนเพื่อส่งต่อให ้คนที่อยากดูแลตัวเอง ซึ่งพลังเหล่านี้ทำให้ป้าในฐานะนักเรียนสัมผัสได้ถึงความจริงใจของครู ข้อนี้คือข้อสำคัญที่ทำให้ตามไปเรียนด้วยทุกที่”
อายุต่างกันขนาดนี้ ทำไมถึงเข้าใจกันได้?
ครูวุธ เล่าต่อว่า “จริงๆ เราสนิทกันมากแต่ก็ทะเลาะกันบ่อยมากเหมือนกัน ความคิดไม่ตรงกันเลยสักเรื่องก็มี เราเคยทะเลาะกันแล้วไม่พูดกันหลายเดือนก็มี เพราะผมไม่ทักทายป้า เผลอเมินโดยไม่ตั้งใจ ป้าจุกก็น้อยใจ หายไปเลยหลายเดือน จนผมแปลกใจว่าทำไมหายไป ถึงได้เข้าใจอาการขี้น้อยใจของผู้สูงอายุ (หัวเราะ) สุดท้ายเราก็ตามไปง้อเขานะ เพราะพอเขาหายไปจริงๆ มันเหมือนคนเคยเห็นหน้ากันทุกวัน เคยเห็นเขาแข็งแรง ตอนออกกำลังกายด้วยกันก็อดเป็นห่วงไม่ได้”
“ป้ากับครูวุธทะเลาะกันบ่อย แต่ก็รักกันมาก เหมือนเราพูดจาคนละภาษากันในบางเรื่อง แต่มันทำให้ได้เรียนรู้นะว่าเด็กสมัยนี้เขาเป็นแบบไหน คิดอะไรอยู่”
“ผมว่าการทะเลาะกับป้าจุกเหมือนเป็นครูสอนเราว่า ในวันหนึ่งถ้าเราต้องกลับไปอยู่ที่บ้าน หรือแม่ต้องมาอยู่ร่วมกันกับเรา เราจะเข้าใจธรรมชาติของผู้สูงอายุมากขึ้นด้วย เพราะป้าจุกอายุมากกว่าแม่ของผม อาการขี้น้อยใจ ความคิด ความเชื่อ การปรับตัวเข้ากับผู้ใหญ่ ก็เป็นสิ่งที่ผมได้ซึมซับมาตลอด 10 ปีที่รู้จักกับป้า”
ความเป็นแม่ในแบบของป้า ทำให้เราสนิทกับลูกน้อยลง
“จริงๆ ป้ามีลูกและก็หลานๆ ที่น่ารักมาก เขารักเราและเราก็รักเขาเช่นเดียวกัน แต่เราไม่สนิทกัน ความชอบนิสัยใจคอเราก็แตกต่างกันด้วย อาจจะเป็นเพราะสมัยก่อนตอนลูกเด็กๆ ป้าเป็นคนเคร่งมากในการเลี้ยงลูก ลูกจะต้องทำตามกฎทุกอย่าง ต้องเรียบร้อย เรียกคุณแม่ทุกคำ อะไรที่ออกนอกกฎที่เราวางไว้ เราจะไม่ให้ลูกได้ทำเลย เพราะอยากปูทางให้เขาได้ดี
“การจะพูดเล่นหยอกล้อเ หมือนแม่เป็นเพื่อนก็จะไม่ค ่อยเกิดขึ้นกับครอบครัวเรา มันจึงเป็นกำแพงที่ใหญ่มากท ี่ทำให้ลูกค่อนข้างเกรงใจเรา เคารพเรา ไม่ใช่แนวพูดคุยกันได้ทุกเรื่องเหมือนครอบครัวอื่น”
“ตอนสมัยลูกเด็กๆ ป้ากับลูกคุยกันไม่ได้จนถึง ขั้นเคยไปปรึกษาจิตแพทย์สำหรับเด็กด้วยนะ แต่มันก็ไม่สามารถแก้ไขได้ สิ่งที่ทำได้คือเรามีความรักให้กัน ต่อให้จะไม่สนิทและคุยกันได้ทุกเรื่องก็ไม่เป็นไร สิ่งเหล่านี้แหละทำให้ลูกโต ขึ้นประสบความสำเร็จและเลี้ยงดูเราเป็นอย่างดี ทุกวันนี้เขาก็แบ่งเงินเดือนดูแลแม่ ซื้อของให้ดูแลเรา ซื้อบ้านให้ ทำหน้าที่ดีที่สุดในฐานะลูก ซึ่งแม่ก็ภูมิใจในตัวเขาที่สุด แต่เพราะการเลี้ยงดูที่ผ่านมาทำให้มีกรอบบางอย่างที่เราไม่สามารถคุยกันแบบเม้าท์มอยและยิ้มกว้างๆ ได้
“การมีเพื่อนต่างวัยเป็นครูวุธสำหรับป้า จึงเปรียบเสมือนลูกอีกคนที่ เราสามารถเม้าท์มอยกันได้ เรียนรู้ซึ่งกันและกันได้ โดยไม่มีอีโก้ของคำว่าแม่ – ลูก มาเป็นกรอบกั้น อย่างที่ใครๆ บอกกันว่า เรื่องบางเรื่องเราพูดกับคนใกล้ตัวเรามากที่สุดได้ยากเสมอมันคือเรื่องจริง”
แม่อีกคนที่ทำให้อบอุ่นหัวใจ
ครูวุธเล่าต่อว่า “สำหรับผมในฐานะเด็กต่างจัง หวัดที่ไกลบ้าน ไม่ได้อยู่กับครอบครัว เพราะภาระหน้าที่การงานที่เ ราต้องทำอยู่ที่กรุงเทพฯ การมีเพื่อนที่เป็นทั้งแม่ และเป็นผู้ใหญ่อีกคนในชีวิต มันทำให้เรารู้สึกอบอุ่นหัวใจ แม้ไม่ได้คลายความรู้สึกคิด ถึงแม่จริงๆ ก็คลายความรู้สึกคิดถึงบ้านได้ อย่างที่บอกว่าป้าคือคนที่ทำให้ผมรู้ว่า ควรเป็นลูกแบบไหนของพ่อแม่และเข้าใจความคิดของผู้ใหญ่อย่างแท้จริง
“อีกอย่างที่ผมได้เรียนรู้จากป้าจุกเลยก็คือ เรื่องการควบคุมอารมณ์และการเงิน ถึงแม้ป้าจะมีฐานะ อยู่ได้ไม่ลำบาก แต่ใครจะไปคิดว่าป้าเลือกที่จะนั่งรถเมล์แทนแท็กซี่ เพื่อประหยัดเงิน ในขณะที่เราเองถ้าร้อนก็คงนั่งแท็กซี่ไปแล้ว (หัวเราะ)
“ทุกวันนี้ พอถึงเทศกาลวันสำคัญ วันเกิดผม วันเกิดป้า หรือเลิกจากการเรียน เราก็จะมีของขวัญเล็กๆ น้อยๆ เติมรอยยิ้มให้กันเสมอ ป้าป่วยก็จะไปเยี่ยม ป้าอยากนำโยคะไปสอนให้ผู้สูงอายุที่หมู่บ้าน เราก็ไปด้วยกัน เป็นเหมือนเพื่อน เหมือนแม่ เหมือนคนในครอบครัวที่ผมรู้สึกว่า เราโชคดีที่ชีวิตนี้เราได้สนิทกัน”
“การที่วัยต่างกัน คิดไม่เหมือนกันเป็นเรื่องปกติ แต่สุดท้ายเราไม่สามารถแยกโลกระหว่างคนแก่กับเด็กได้ แม้แต่สถาบันเล็กๆ อย่างครอบครัวยังมีคนหลากหลายวัย หลากหลายความคิด สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดก็คือเราจะอยู่ร่วมกันอย่างไร เพื่อให้เข้าใจกันมากที่สุด แม้จะไม่ทุกเรื่องก็ตาม”
“สำหรับป้าการที่ยังได้คุยกับเด็กๆ ที่เราสามารถคุยกันโดยไม่มี อีโก้ได้ มันคือการเปิดมุมมองของเราอย่างหนึ่ง และเป็นความสดใสด้วย ได้ฟังในสิ่งที่ไม่เคยฟัง ได้รู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้ แข็งแรงทั้งทางกาย มีแรงอยากไปออกกำลังกายทุกๆ วันเพราะมีเพื่อนที่เข้าใจ และหัวใจก็แข็งแรงไปด้วยเพราะอย่างน้อยเราก็ไม่ต้องเครียด หรือใช้ชีวิตหมดไปกับการไม่รู้จะทำอะไรในวันที่เพื่อนๆ ไม่ออกไปเที่ยวกันแล้ว”