Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

เซฟสมองก่อนสาย! “ภาวะสมองเสื่อม” ป้องกันได้ตั้งแต่วัย 40+

ภาวะสมองเสื่อม เริ่มต้นป้องกันได้เลยตั้งแต่อายุ 40!

เรามักจะคิดว่าอาการหลง ๆ ลืม ๆ ของภาวะสมองเสื่อม มักจะเกิดขึ้นในช่วงใกล้วัยสูงอายุ หรือช่วงที่เข้าวัยเลข 5 เลข 6 ไปแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้ว อาการของภาวะสมองเสื่อมนั้นมีการเกิดขึ้นล่วงหน้าและสะสมมาเรื่อย ๆ ถึง 25 ปี ก่อนที่จะเริ่มแสดงอาการที่เด่นชัดออกมา

สมองของคนเราจะมีการสะสมสิ่งที่เรียกว่า “แอมีลอยด์ บีตา โปรตีน” หรือขยะที่เป็นพิษต่อระบบประสาททีละเล็กทีละน้อยจนกระทั่งเริ่มฆ่าเซลล์ประสาทไปเรื่อย ๆ ดังนั้น การป้องกันภาวะสมองเสื่อมที่ดีที่สุดควรเริ่มต้นตั้งแต่วัย 40 ปี

สมองเสื่อมไม่ได้เกิดขึ้นอย่างกะทันหันแต่จะแสดงอาการระยะเฝ้าระวังก่อน​ หากปล่อยให้เป็นแบบนั้นไปเรื่อย​ ๆ ก็อาจจะกลายเป็นโรคทางสมองอื่น ๆ ได้​ เช่น โรคอัลไซเมอร์ สิ่งสำคัญ คือเราสามารถปรับเปลี่ยนวิธีใช้ชีวิตในขณะที่อยู่ในช่วงระยะเฝ้าระวังหรือที่เรียกว่า MCI (ภาวะรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย)​ แต่หากปล่อยให้เป็นโรคแล้ว ไม่ว่าจะพยายามรักษามากแค่ไหนก็จะย้อนกลับมารักษาให้หายไม่ได้ง่าย​ ๆ​ อีกแล้ว

หากพบว่าผู้สูงอายุในบ้านเริ่มมีอาการหลง​ ๆ​ ลืม​ ๆ สิ่งสำคัญคือต้องรีบพาไปพบแพทย์เฉพาะทางทางสมอง หรือไปคลินิกความจำ เพื่อตรวจดูให้รู้ว่าเป็นอาการปกติทั่วไป เป็น MCI หรือเป็นโรคทางสมองกันแน่

ซึ่งเราสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

  1. ออกกำลังกาย – การออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น เดิน เต้น โยคะ ฯลฯ ให้ได้ 150 นาทีต่อสัปดาห์ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดอาการสมองเสื่อม ลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท
  2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย – การนอนน้อยเท่ากับลดเวลาในการทำความสะอาดสมอง ควรนอนหลับให้ได้อย่างน้อยประมาณ 7 ชั่วโมงต่อวัน
  3. ไม่สูบบุหรี่ – งานวิจัยจาก WHO พบว่า การสูบบุหรี่และภาวะสมองเสื่อมมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างมาก คนที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมมากกว่าคนไม่สูบบุหรี่ถึง 45%
  4. กินอาหารแบบ MIND Diet – หรือกินปลามากกว่าเนื้อสัตว์ประเภทอื่น ๆ โดยเฉพาะ ปลาซาบะ ปลาอิวาชิ และปลาซัมมะ ที่อุดมไปด้วย DHA และ EPA ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด กินผักสีเขียวและสีเหลือง ธัญพืชไม่ขัดสี น้ำมันมะกอก ถั่วเปลือกแข็ง การกินอาหารแบบนี้เป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะสมองเสื่อมให้น้อยลงถึง 53%
  5. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ – การดื่มมากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดภาวะสมองเสื่อมมากขึ้น คนที่ดื่มหนักจะยิ่งทำให้ความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นถึง 4.6 เท่า
  6. ไม่หยุดเรียนรู้​ -​ งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิบะ ประเทศญี่ปุ่น พบว่า ผู้สูงอายุที่มีการศึกษาน้อยกว่า 6 ปี จะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมสูงกว่าผู้ที่มีการศึกษาต่อเนื่อง 13 ปีขึ้นไป โดยผู้ชายในกลุ่มที่มีการศึกษาน้อยจะมีความเสี่ยงสูงกว่า 3 เท่า ส่วนผู้หญิงจะมีความเสี่ยงสูงกว่าถึง 2 เท่า คนที่มีความรู้หรือประสบการณ์มากต่อให้สูญเสียเซลล์ประสาทสมองไปจำนวนหนึ่ง ความรู้หรือประสบการณ์ที่เคยได้รับมาก็จะช่วยทดแทนได้ ทำให้อาการของภาวะสมองเสื่อมแสดงออกมาได้ยากขึ้น ดังนั้น การไม่หยุดเรียนรู้ในวันที่อายุเพิ่มขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก มีงานวิจัยจำนวนมากที่ชี้ว่าการทำสิ่งใหม่ ๆ เช่น เล่นดนตรี เล่นเกมกระดาน อย่างหมากรุกหรือหมากล้อม มีผลในการป้องกันสมองเสื่อม นั่นเท่ากับว่า การเรียนรู้ตลอดชีวิตคือเครื่องป้องกันภาวะสมองเสื่อมชิ้นใหญ่ที่เราไม่ควรมองข้าม
  7. เข้าสังคมและพบปะผู้คนอยู่เสมอ – งานวิจัยในประเทศเนเธอร์แลนด์ได้สำรวจผู้สูงอายุทั้งชายและหญิง จำนวน 2,000 คน เป็นเวลา 3 ปี เพื่อดูความเชื่อมโยงระหว่างความโดดเดี่ยวทางสังคม พบว่า อัตราการเกิดภาวะสมองเสื่อมในคนที่รู้สึกโดดเดี่ยวมีมากกว่าคนที่ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวถึง 2.5 เท่า ดังนั้น การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน ไปเที่ยวกับเพื่อน เข้าร่วมชมรม หรืองานอดิเรก  เพื่อป้องกันความโดดเดี่ยวก็จะช่วยป้องกันอาการสมองเสื่อมได้

***ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 85 ปีขึ้นไป มักมีภาวะสมองเสื่อมหรือภาวะ Mild Cognitive Impairment (MCI) มากถึง 50% แต่หากเราเริ่มป้องกันตั้งแต่เนิ่น​ ๆ​ หรือในวันที่อายุยังน้อยก็จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้

เรียบเรียงข้อมูลจาก

หนังสือ STRESS FREE เครียด-อยู่-ได้

ผู้เขียน : นายแพทย์ชิออน คาบาซาวะ

ผู้แปล : อาคิรา รัตนาภิรัต

Credits

Author

ถึงจะต่างวัยแต่ก็
อยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจ